Wednesday, December 18, 2013

ผู้จัดทำ

คณะผู้จัดทำ      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
1. นางสาวธนาภรณ์       ธารแสงประดิษฐ์           เลขที่ 4
2. นางสาวประภาสิริ      ภักดิ์ปาน                   เลขที่
3. นายธนรัตน์             ธนขจร                     เลขที่ 17
4. นายศุภวิชญ์            ดวงภูเมฆ                   เลขที่ 23

Question


1. สิ่งเสพติดหมายถึงอะไร
1. สิ่งที่เสพไปแล้ว ทำให้หัวเราะ          2. สิ่งที่เสพไปแล้ว หยุดเสพต่อไม่ได้     
3. สิ่งที่เสพไปแล้ว ทำให้ท้องเสีย         4. สิ่งที่เสพไปแล้ว ทำให้อ้วก

2. จำแนกสารเสพติดตามการออกฤทธิ์ได้กี่แบบ
1. 4                   2. 3                    3. 2                  4. 1

3. ถ้าท่านพบเห็นคนขายยาเสพติด ท่านควรทำอย่างไร
1. เข้าไปขอร่วมวง          2. แจ้งตำรวจ     
3. ชวนไปทำอย่างอื่น       4. ไม่สนใจ ไม่ใช่เรื่องของเรา

4. ยาประเภทรับประทานก่อนอาหาร ต้องรับประทานก่อนอาหารเท่าใด
1. ครึ่งชั่วโมง              2. สามชั่วโมง        3. เจ็ดชั่วโคตร               4. หนึ่งนาที

5. ข้อใดไม่ใช่การคุณลักษณะของการเต้นรำพื้นเมือง
1. มักเต้นประกอบเสียงเพลงแบบดั้งเดิมหรือเพลงที่อยู่บนพื้นฐานของเพลงพื้นบ้าน
2. มีเน้นการออกแบบท่าเต้นเพื่อการเต้นในที่สาธารณะหรือแสดงบนเวที
3. เป็นไปตามประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานมากกว่านวัตกรรมอื่นๆ
4. นักเต้นใหม่มักจะเรียนรู้จากการสังเกตคนอื่น ๆหรือได้รับการช่วยเหลือ,การสอนจากผู้อื่น

ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำพื้นเมือง Folk Dance

ประวัติการเต้นรำ
          -มนุษย์มีความต้องการเกี่ยวกับความสนุกสนานรื่นเริงรองจากปัจจัยสี่ เห็นได้จากที่แต่ละชนชาติมักจะใช้วิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงของตนเองตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มาแล้วทั้งสิ้น โดยวิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานที่มักจะปฏิบัติอยู่เสมอคือ การแสดงออกด้วยการเต้นรำหรือร้องรำทำเพลง
          -การร้องรำทำเพลงนี้ แต่ละชนชาติจะมีวิธีการแสดงออกที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ทั้งนี้อาจจะมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม ชีวิตการเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม ตลอดจนความเชื่อโชคลางต่างๆ ด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้การร้องรำทำเพลงของแต่ละชนชาติซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้นกลายมาเป็นศิลปะประจำชาติของแต่ละชาติไปดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ 
การเต้นรำพื้นเมือง 
หมายถึง การแสดงที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละประเทศ ที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในทุกยุคทุกสมัย โดยอาจมีการพัฒนาดัดแปลงมาจากการละเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมีคุณลักษณะ คือ
-โดยการเต้นรำนั้นมีทั้งลักษณะที่มีการฝึกอบรมหรือไม่มีเลย และมักเต้นประกอบเสียงเพลงแบบดั้งเดิมหรือเพลงที่อยู่บนพื้นฐานของเพลงพื้นบ้าน
-การเต้นในลักษณะนี้จะไม่มีเน้นการออกแบบท่าเต้นเพื่อการเต้นในที่สาธารณะหรือแสดงบนเวทีแม้ว่าในภายหลังอาจจะมีการแสดง folkdances บนเวที และถูกปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงไปบ้าง
 -การเต้นรำพื้นเมืองหรือfolkdancesเป็นไปตามประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานมากกว่านัวตกรรมอื่นๆ แม้ว่าประเพณีพื้นบ้านอื่นๆมักจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาก็ตาม

-นักเต้นใหม่มักจะเรียนรู้จากการสังเกตคนอื่น ๆหรือได้รับการช่วยเหลือ,การสอนจากผู้อื่น

ตัวอย่างการเต้นรำพื้นเมืองนานาชาติ
- Polonez(Polish)







ตัวอย่างการเต้นรำพื้นบ้านในทวีปเอเชีย




-Kalbelia

-ฟ้อนเล็บ


-เซิ้งบั้งไฟ


-เต้นกำรำเคียว 
-ตารีกีปัส


ที่มา
http://11-12-14-23m6room5.blogspot.com/





ยาเสพติดให้โทษ


สารเสพติดให้โทษ

          สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น

          พระราชบัญญติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522
 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพ
ติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"

ประเภทของสิ่งเสพติด
ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่นเฮโรอีน เมทแอมเฟตามีน
ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีนโคเคอีน ฝิ่น
ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย
ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์
ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม


สาเหตุของการติดยาเสพติด
·         ความอยากรู้อยากลอง
·         เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
·         มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
·         ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว
·         สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย
·          ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
·         อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม


การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดหงิดง่าย พูดจาก้าวร้าวขาดความรับ

ผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สูบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรุนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาศัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยา
เสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบ้าชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด

โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. ทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ 
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติด ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7.  จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม


โทษพิษภัยต่อครอบครัว

1. ความรับผิดชอบลดลง ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทองให้กับยาเสพติด และต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล 
3. ทำงานไม่ได้ นายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อ


ที่มา

Monday, December 16, 2013


การใช้ยาอย่างถูกวิธี

     แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ผู้ใช้ยาควรทราบถึงความหมายของคำต่าง ๆ ที่พบเสมอในฉลากยา


1. รับประทานก่อนอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ดี หากรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะทำให้การดูดซึมของยาลดลงมาก หากลืมรับประทานก่อนอาหารให้รับประทานหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ส่วนมากจะเป็นยาที่รักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ให้รับประทานก่อนอาหารเพื่อที่จะได้ออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน

2. รับประทานหลังอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาทียาที่ให้รับประทานหลังอาหารนี้ ส่วนมากเป็นยาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่รบกวนต่อการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้ หรือเป็นยาที่ถึงแม้จะถูกดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่างแต่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก
        
        3.รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารมักทำให้คลื่นไส้ อาเจียนเมื่อรับประทานขณะท้องว่าง หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นผลหรือจนถึงขั้นเป็นแผล
ทะลุได้
ดังนั้นจึงต้องมีอาหารหรือน้ำช่วยทำให้เจือจาง ยาดังกล่าวได้แก่ ยาแก้ปวดข้อต่าง ๆ ยาแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

        4. รับประทานก่อนนอน หมายความว่าให้รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืนวันละ 1 ครั้ง เท่านั้น




อันตรายจากการใช้ยา
1.     การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
  
- กินแอสไพริน  ขนาดมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ถึงตายได้
2.     ผลข้างเคียงของยา (Side effect) ยาทุกตัวจะมีผลที่ไม่เป็นคุณหรือเป็นโทษ อยู่ควบคู่กับประโยชน์ของมัน
เสมอ เช่น
  
- ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะ (กัดกระเพาะ) เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติกได้ เช่น ยาแอสไพริน ,ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ , สเตอรอยด์ , รีเซอร์พีน 
3.     การแพ้ยา (Drug allergy หรือ Drug hypersensitivity) 
4.     การดื้อยา (Drug resistance) มักจะเกิดกับยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างผิด ๆ  ยาปฏิชีวนะ
5.     การใช้ยาในทางที่ผิดและการติดยา (Drug abuse และ Drug dependence) เช่น
  
- การติดยามอร์ฟีน, เฮโรอีน, ยากระตุ้นประสาท-แอมฟีตามีน (ยาม้า, ยาขยัน) 
6.     ปฏิกิริยาต่อกันของยา (Drug interaction) จะเกิดขึ้นเมื่อให้ยาเข้าไปในร่างกายมากกว่า 2 ตัวขึ้นไป
    พร้อมกัน ซึ่งอาจจะเสริมฤทธิ์กัน ทำให้มีผลในการรักษามากขึ้น หรือทำให้ฤทธิ์ยาแรงขึ้น หรือต้านฤทธิ์กัน
    ทำให้ผลการรักษาลดน้อยลงไป เช่น
   - แอลกอฮอล์ (เหล้า, เบียร์) ถ้ากินพร้อมกับยานอนหลับ, ยาแก้แพ้ จะช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับมากขึ้น
7.     การตอบสนองต่อยาในคนที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น
คนที่มีภาวะพร่องเอนไชม์จี-6-พีดี ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้ากินแอสไพริน  ซัลฟา คลอแรมเฟนิคอล  ฟูราโซลิโดน  พีเอเอส  ควินิน  ไพรมาควีน  หรือไทอาเซตาโซน  อาจทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก ได้




การป้องกันอันตรายการใช้ยา
1. ต้องทำความรู้จักยาทั้งในแง่สรรพคุณ, ผลข้างเคียง, ขนาดที่ใช้, ระยะเวลาที่ใช้, ไม่ใช้อย่างเดาสุ่ม, อย่างครอบจักรวาล, อย่างพร่ำเพรื่อ หรืออย่างไม่รับผิดชอบ
2. ต้องทำความรู้จักกับคนไข้ที่จะใช้ยา ถามประวัติการแพ้ยา, โรคภูมิแพ้ในตัวคนไข้และครอบครัว, อาการซีดเหลืองที่เกิดขึ้นประจำ
3. ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านตำรา หรือสอบถามผู้รู้
4. ควรแนะนำให้ชาวบ้านรู้จักโทษของยา หากจะเลือกซื้อยากินเอง ควรรู้จักยาชนิดนั้น ๆ ให้ดี อย่าปล่อยให้ทางร้านขายยาจัดยาชุดที่ไม่รู้จักให้ เพราะในยาชุดมักมียาอันตรายผสมอยู่ด้วย เช่น คลอแรมเฟนิคอล,เพร็ดนิโซโลน ฯลฯ
5. ควรแนะนำให้ร้านขายยารับผิดชอบต่อการจ่ายยาให้แก่ลูกค้า อย่าจ่ายยาอันตรายอย่างพร่ำเพรื่อ
6. อย่าฉีดยาโดยไม่จำเป็น เลือกฉีดในรายที่อาการรุนแรงหรืออาเจียน กินไม่ได้ เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาแล้ว ยังอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เป็นฝีหัวเข็ม โรคตับอักเสบจากไวรัส หรือโรคเอดส์และอาจฉีดถูกเส้นประสาทได้อีกด้วย