สารเสพติดให้โทษ
สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization
or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้
และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
พระราชบัญญติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ประเภทของสิ่งเสพติด
ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง
เช่นเฮโรอีน เมทแอมเฟตามีน
ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น
มอร์ฟีน โคคาอีนโคเคอีน ฝิ่น
ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท
2 ผสมอยู่ด้วย
ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท
1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์
อาเซติลคลอไรด์
สาเหตุของการติดยาเสพติด
·
ความอยากรู้อยากลอง
·
เพื่อนชวน
หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
·
มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น
เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
·
ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา
เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว
·
สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย
·
ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
·
อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม
การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
อารมณ์หงุดหงิดง่าย พูดจาก้าวร้าวขาดความรับ
ผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สูบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
ผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สูบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น
กระตุก ชัก จาม น้ำมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า
"ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรุนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาศัยเทคนิคทางการแพทย์
โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยา
เสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบ้าชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด
เสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบ้าชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด
โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. ทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ
เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้
อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติด ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
2. เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติด ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
โทษพิษภัยต่อครอบครัว
1. ความรับผิดชอบลดลง ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทองให้กับยาเสพติด และต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล
3. ทำงานไม่ได้ นายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว
นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง
ที่มา
No comments:
Post a Comment