Monday, December 16, 2013


การใช้ยาอย่างถูกวิธี

     แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ผู้ใช้ยาควรทราบถึงความหมายของคำต่าง ๆ ที่พบเสมอในฉลากยา


1. รับประทานก่อนอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ดี หากรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะทำให้การดูดซึมของยาลดลงมาก หากลืมรับประทานก่อนอาหารให้รับประทานหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ส่วนมากจะเป็นยาที่รักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ให้รับประทานก่อนอาหารเพื่อที่จะได้ออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน

2. รับประทานหลังอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาทียาที่ให้รับประทานหลังอาหารนี้ ส่วนมากเป็นยาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่รบกวนต่อการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้ หรือเป็นยาที่ถึงแม้จะถูกดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่างแต่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก
        
        3.รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารมักทำให้คลื่นไส้ อาเจียนเมื่อรับประทานขณะท้องว่าง หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นผลหรือจนถึงขั้นเป็นแผล
ทะลุได้
ดังนั้นจึงต้องมีอาหารหรือน้ำช่วยทำให้เจือจาง ยาดังกล่าวได้แก่ ยาแก้ปวดข้อต่าง ๆ ยาแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

        4. รับประทานก่อนนอน หมายความว่าให้รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืนวันละ 1 ครั้ง เท่านั้น




อันตรายจากการใช้ยา
1.     การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
  
- กินแอสไพริน  ขนาดมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ถึงตายได้
2.     ผลข้างเคียงของยา (Side effect) ยาทุกตัวจะมีผลที่ไม่เป็นคุณหรือเป็นโทษ อยู่ควบคู่กับประโยชน์ของมัน
เสมอ เช่น
  
- ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะ (กัดกระเพาะ) เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติกได้ เช่น ยาแอสไพริน ,ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ , สเตอรอยด์ , รีเซอร์พีน 
3.     การแพ้ยา (Drug allergy หรือ Drug hypersensitivity) 
4.     การดื้อยา (Drug resistance) มักจะเกิดกับยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างผิด ๆ  ยาปฏิชีวนะ
5.     การใช้ยาในทางที่ผิดและการติดยา (Drug abuse และ Drug dependence) เช่น
  
- การติดยามอร์ฟีน, เฮโรอีน, ยากระตุ้นประสาท-แอมฟีตามีน (ยาม้า, ยาขยัน) 
6.     ปฏิกิริยาต่อกันของยา (Drug interaction) จะเกิดขึ้นเมื่อให้ยาเข้าไปในร่างกายมากกว่า 2 ตัวขึ้นไป
    พร้อมกัน ซึ่งอาจจะเสริมฤทธิ์กัน ทำให้มีผลในการรักษามากขึ้น หรือทำให้ฤทธิ์ยาแรงขึ้น หรือต้านฤทธิ์กัน
    ทำให้ผลการรักษาลดน้อยลงไป เช่น
   - แอลกอฮอล์ (เหล้า, เบียร์) ถ้ากินพร้อมกับยานอนหลับ, ยาแก้แพ้ จะช่วยเสริมฤทธิ์การนอนหลับมากขึ้น
7.     การตอบสนองต่อยาในคนที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น
คนที่มีภาวะพร่องเอนไชม์จี-6-พีดี ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้ากินแอสไพริน  ซัลฟา คลอแรมเฟนิคอล  ฟูราโซลิโดน  พีเอเอส  ควินิน  ไพรมาควีน  หรือไทอาเซตาโซน  อาจทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก ได้




การป้องกันอันตรายการใช้ยา
1. ต้องทำความรู้จักยาทั้งในแง่สรรพคุณ, ผลข้างเคียง, ขนาดที่ใช้, ระยะเวลาที่ใช้, ไม่ใช้อย่างเดาสุ่ม, อย่างครอบจักรวาล, อย่างพร่ำเพรื่อ หรืออย่างไม่รับผิดชอบ
2. ต้องทำความรู้จักกับคนไข้ที่จะใช้ยา ถามประวัติการแพ้ยา, โรคภูมิแพ้ในตัวคนไข้และครอบครัว, อาการซีดเหลืองที่เกิดขึ้นประจำ
3. ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านตำรา หรือสอบถามผู้รู้
4. ควรแนะนำให้ชาวบ้านรู้จักโทษของยา หากจะเลือกซื้อยากินเอง ควรรู้จักยาชนิดนั้น ๆ ให้ดี อย่าปล่อยให้ทางร้านขายยาจัดยาชุดที่ไม่รู้จักให้ เพราะในยาชุดมักมียาอันตรายผสมอยู่ด้วย เช่น คลอแรมเฟนิคอล,เพร็ดนิโซโลน ฯลฯ
5. ควรแนะนำให้ร้านขายยารับผิดชอบต่อการจ่ายยาให้แก่ลูกค้า อย่าจ่ายยาอันตรายอย่างพร่ำเพรื่อ
6. อย่าฉีดยาโดยไม่จำเป็น เลือกฉีดในรายที่อาการรุนแรงหรืออาเจียน กินไม่ได้ เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาแล้ว ยังอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เป็นฝีหัวเข็ม โรคตับอักเสบจากไวรัส หรือโรคเอดส์และอาจฉีดถูกเส้นประสาทได้อีกด้วย





No comments:

Post a Comment